ประโยชน์ของรังนก

ประโยชน์ของรังนก

จริงๆแล้ว "รังนก" ที่เรารู้จัก แล้วมีประโยชน์อย่างไร ร่วมหาคำตอบได้ที่นี่

รังนกนางแอ่น หรือน้ำลายนกนางแอ่นนั้น ถือเป็นอาหารพิเศษที่มีมาช้านานมากๆ เป็นที่นิยมในคนชนชั้นสูงของประเทศจีน คนจีนเชื่อว่ารังนกเป็นยาอายุวัฒนะ มีคุณสมบัติพิเศษในการบำรุงร่างกาย รักษาโรคทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงสุขภาพเด็กที่ร่างกายไม่แข็งแรง แต่แท้จริงแล้ว “รังนก” มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบให้

ล่าสุดนักวิจัยในประเทศเกาหลี, ญี่ปุน, จีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย, ไทย ได้เปิดเผยแล้วว่า สารจากรังนกช่วยในการกระตุ้นการทำงานในระดับเซลล์ในลักษณะ EGF ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างคอลลาเจน ในชั้นผิวหนังแท้ ช่วยซ่อมแซมผิวหนังและเนื้อเยื่อ ช่วยสร้างเซลล์ผิวใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสลาย และช่วยให้ผิวพรรณสดใส ดูอ่อนกว่าวัย

คอลลาเจน และประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับประทานรังนก

รังนกมีส่วนช่วยในการดูดซึมของลำไส้ ตามตำราแพทย์แผนจีนรังนกถูกจัดอยู่ในหมวดของยาชูกำลัง การบริโภครังนกในขณะที่ท้องว่างจะมีส่วนช่วยให้สารอาหารที่มีประโยชน์ดูดซึมเข้าร่างกายได้มากขึ้น ฟื้นฟูอาการจากความเมื่อยล้า ทำให้การย่อยดีขึ้นอีกด้วย

รังนกช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รังนกอุดมไปด้วยไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)โกรท แฟคเตอร์ (Geowth Factor) และสารอาหารที่ให้พลังงาน รังนกจึงมีส่วนในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

รังนกมีสารต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidation) ป้องกันเซลล์ผิวหนังเกิดปัญหา เช่น จุดด่างดำ ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ดูอ่อนกว่าวัย และยังช่วยซ่อมแซมผิวที่เสียหายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้ผิวเรียบเนียนและยืดหยุ่น ชะลอความเสื่อมของเซลล์

รังนกดีต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ส่วนประกอบของรังนกนั้น มีทั้งโปรตีนและกรดอะมิโนต่างๆ ที่ช่วยในการพัฒนาร่างกายให้เติบโตแข็งแรง

งานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพบว่า

นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์หาส่วนผสมของรังนกนางแอ่นโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่า รังนกประกอบด้วยโปรตีน 60.9% น้ำ 5.11% แคลเซียม 0.85% โปแตสเซียม 0.03% และยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรดอะมิโนมากถึง 17 ชนิด ซึ่งมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้รวมอยู่ด้วย ทำให้รังนกมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมไปถึงการมีไกลโคโปรตีน สารสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดสำคัญ ทำหน้าที่ทำลายเชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย

ที่มา : researchgate.net

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *